บทที่ 1

อำนาจหน้าที่ท้องถิ่น


บทที่ 2

ปูพื้นฐานงบท้องถิ่น


บทที่ 3

สำรวจเงินอุดหนุนและปัญหา


บทที่ 4

กรณีศึกษาความพยายามท้องถิ่น


บทที่ 5

ทำอย่างไรให้ไปถึงฝั่งฝัน


role

ท้องถิ่นไทย

ทำไม(ยัง)ไปไม่ถึงฝั่งฝัน ?

ชวนคิดการใช้งบประมาณของท้องถิ่นไทยเพื่อเมืองในฝันที่เป็นไปได้ของเราทุกคน

จะเป็นไปได้ไหม…วันที่เราจะได้บริการสาธารณะในท้องถิ่นของเราแบบนี้ ?

arrow_down

วันที่…เรามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีให้ประชาชน

ถนนปลอดภัย ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ

วันที่…เรามีสวัสดิการพื้นฐานที่เพียงพอเสมอภาค

เบี้ยยังชีพที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต

วันที่…เรามีคนทำหน้าที่บรรเทาปัญหายามเกิดวิกฤตโรคระบาดหรือ

ภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็ว

วันที่…เราแต่ละคนได้รับบริการสาธารณะที่ตรงกับความต้องการจริงๆ

ห้องสมุดประชาชน

สวัสดิการผ้าอนามัยฟรีในโรงเรียนและชุมชน

สระว่ายน้ำในชุมชน

สนามเด็กเล่นในชุมชน

เหล่านี้คือ
การให้
ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ

ที่ควรทำได้ตามหลักการกระจายอำนาจ

ของรัฐธรรมนูญปี 60 ว่าด้วย

การบริการสาธารณะ

แต่ทำไมในความเป็นจริง บริการสาธารณะที่เราควรจะได้รับเหล่านี้ เกิดขึ้นได้ยากเหลือเกิน?

เราอยากชวนคุณมาเข้าใจความท้าทายในการจัดบริการสาธารณะผ่าน'งบประมาณท้องถิ่น'ในระดับจังหวัดกัน

1 jar yellow
2 sky yellow
2 blue yellow budget badge
2 hand 2 thumb
1 yellow ball

ปัญหาที่ 1 : รายได้ไม่พอ พึ่งตนเองไม่ได้?

มาปูพื้นฐานกันก่อนว่า ‘รายได้ท้องถิ่น’ มีที่มาจากไหนบ้าง

รายได้ท้องถิ่นเก็บเอง

คือรายได้จากภาษีท้องถิ่น ซึ่งรัฐเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นจัดเก็บเองเพื่อส่งเสริมการกระจายอำนาจ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อากรฆ่าสัตว์ ภาษีจากสถานค้ายาสูบ และการหารายได้ในรูปแบบอื่น ๆ เช่น รายได้จากค่าธรรมเนียม รายได้จากทรัพย์สิน และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ

รายได้จากรัฐบาล

แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. รายได้ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้

รายได้ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้ คืองบประมาณที่รัฐสนับสนุนให้ท้องถิ่นเพื่อ นำไปใช้ตามภารกิจตามอำนาจหน้าที่ที่ท้องถิ่นทำได้รวมถึง จัดทำโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ของรัฐ เช่น โครงการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับภัยแล้ง และโครงการจัดทำหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกัน COVID-19 เป็นต้น

โดยมีที่มาจากรายได้ภาษีของรัฐบาล เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสุราและเบียร์ ภาษีสรรพสามิต ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ ภาษีการพนัน ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ฯลฯ

2. เงินอุดหนุน

เงินอุดหนุน คือ เงินที่รัฐฝากท้องถิ่นให้ใช้จ่ายเพื่อจัดทำบริการสาธารณะและสวัสดิการสังคมในท้องถิ่น ส่วนใหญ่แล้วมีจุดประสงค์กำกับการใช้จ่ายชัดเจนภายใต้ตัวเลือกในรายงานงบอุดหนุนประจำปี แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ เงินอุดหนุนทั่วไป และ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ

ท้องถิ่นพึ่งตนเองทางรายได้ไม่ได้

แม้ท้องถิ่นจะสามารถใช้จ่ายงบ ‘รายได้ท้องถิ่นเก็บเอง’ได้อย่างอิสระ แต่งบก้อนนี้จัดเก็บได้น้อยเกินไป

จากข้อมูล 6 ปีที่ผ่านมา ท้องถิ่นมีรายได้ที่เก็บเองไม่ถึง 10% ของงบประมาณทั้งหมด ส่วนเหลือต้องพึ่งพางบ ‘รายได้จากรัฐบาล’ (รายได้ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้ และ เงินอุดหนุน)

problem/stack_graph

โดยเฉพาะในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 เมื่อรัฐบาลมีมาตรการลดจำนวนการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% ก็ยิ่งทำให้ท้องถิ่นจัดเก็บรายได้เองลดลงไปอีก

จำนวนรายรับท้องถิ่นรวมตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558-2563

problem/line_graph

ในขณะที่ในประเทศซึ่งได้รับการยอมรับว่าประสบความสำเร็จเรื่องการบริการและกิจกรรมสาธารณะ อย่างเช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ท้องถิ่นต้องพึ่งพา เงินจากรัฐส่วนกลาง ไม่ต่างจากไทย แต่ท้องถิ่นเหล่านี้สามารถ หารายได้เอง เกินครึ่งของรายได้ทั้งหมด

*เทียบจากปีงบประมาณ 2563

ไทย

problem/thai_jar

5%

ญี่ปุ่น

problem/japan_jar

57.4%

สหรัฐอเมริกา

problem/usa_jar

75.9%

สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ท้องถิ่นหารายได้เองได้น้อย เกิดจากข้อบัญญัติกฏหมายที่ไม่อนุญาตให้ท้องถิ่นหารายได้ได้อย่างอิสระ หากกฎหมายไม่ได้ระบุไว้

ตัวอย่างกรณีศึกษา

problem/location

อบต.เกาะช้างใต้ จังหวัดตราด

ขอเก็บค่าธรรมเนียมนักท่องเที่ยวเพื่อใช้เป็นงบประมาณจัดการสิ่งแวดล้อม

problem/no_ticket

ไม่อนุญาตเพราะ

ตามกฎหมายท้องถิ่นไม่สามารถเก็บค่าธรรมเนียมที่ผู้จ่ายไม่ได้ประโยชน์โดยตรงได้

- พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537

problem/location

เทศบาลม่วงน้อย จังหวัดลำพูน

ขอขายถุงดำแทนการเก็บค่าขยะ

problem/no_trash

ไม่อนุญาตเพราะ

ตามกฎหมายท้องถิ่นไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการหารายได้จากที่กฎหมายกำหนดไว้อยู่แล้วได้เอง ต้องจัดเก็บเป็นค่าธรรมเนียมโดยตรงเท่านั้น

- พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ. 2535

อุดหนุนทั่วไป

อุดหนุนเฉพาะกิจ

ปัญหาที่ 2 : ขาดอิสระในการใช้จ่าย?

มาดูเงื่อนไข ‘การใช้จ่ายของท้องถิ่น’ กันก่อน

รายได้ท้องถิ่นเก็บเอง และ ‘รายได้จากรัฐบาล’ ในส่วน ‘รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้และเก็บให้’ เป็นงบที่ท้องถิ่นมี อิสระในการใช้จ่าย และ หากใช้ไม่หมดจะเป็นเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

ในขณะที่ ‘รายได้จากรัฐบาล’ ในส่วน ‘เงินอุดหนุน’ เป็นงบที่ท้องถิ่น ต้องใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ที่รัฐกำหนดมา

เงินอุดหนุนแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามจุดประสงค์กำกับการใช้จ่าย คือ เงินอุดหนุนทั่วไป และ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดยเงินอุดหนุนทั่วไปสามารถสะสมเพื่อใช้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดในปีถัด ๆ ไปได้ เรียกว่าเงินงบประมาณข้ามปี ในขณะที่ เงินอุดหนุนเฉพาะกิจสะสมไม่ได้

เงินอุดหนุนทั่วไป

คือ เงินอุดหนุนสำหรับใช้จ่ายตามอำนาจหน้าที่ ค่าใช้จ่ายประจำ และสวัสดิการประชาชน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยยังชีพผู้พิการ เงินเดือนครูท้องถิ่น เงินเดือนเจ้าหน้าที่และค่าดำเนินงานบริหารสนามกีฬา เป็นต้น

หมายเหตุ : เงินอุดหนุนทั่วไป แบ่งออกเป็น เงินอุดหนุนทั่วไปตามอำนาจหน้าที่ และ เงินอุดหนุนทั่วไปตามรายการจ่าย ซึ่งเงินอุดหนุนทั่วไปตามอำนาจหน้าที่ เป็นงบที่ท้องถิ่นมีอิสระในการใช้จ่าย

เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ

คือ เงินอุดหนุนสำหรับใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยส่วนใหญ่ เช่น ก่อสร้างและซ่อมถนนหลวงท้องถิ่น พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ระบบประปาหมู่บ้าน เป็นต้น

ท้องถิ่นขาดอิสระในการใช้จ่าย ด้วยการกำหนดเงื่อนไขจากรัฐบาล?

ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2560 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ มีหน้าที่จัดทำบริการสาธารณะเพื่อประชาชนในพื้นที่การดูแลของตน

รายได้ที่เป็นอิสระ

มีข้อจำกัด คือ กรอบกฎหมายที่ไม่ยืดหยุ่นให้ท้องถิ่นใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณะได้อย่างเต็มที่

รายได้ที่ไม่เป็นอิสระ

มีข้อจำกัด คือ กรอบนโยบาย ที่ไม่ยืดหยุ่นให้ท้องถิ่นใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณะเป็นพิเศษได้แม้จะเป็นตามอำนาจหน้าที่ และไม่สามารถสะสมนำไปใช้ได้

เกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อท้องถิ่นขาดอิสระในการใช้งบ?

เราจะชวนมาเจาะดูผลที่ตามมา ตัวอย่างการใช้จ่าย เงินอุดหนุน ที่สะท้อนภาพปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นแม้เพียงบ้างส่วนได้ชัดเจน

เงินเดือนข้าราชการ

สวัสดิการและบริการสาธารณะ

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

งานถ่ายโอนจากส่วนกลาง

ถอดบทเรียนฉบับย่อ

4 อุปสรรคที่ท้องถิ่นต้องเจอ เมื่อต้องใช้จ่ายเงินอุดหนุนและจัดบริการสาธารณะ

1.
เงินอุดหนุนถูกจัดสรรด้วยมุมมองภาพรวม มากกว่าจากความต้องการของแต่ละท้องถิ่น

“เงินอุดหนุนตอบโจทย์เรื่องการกระจายความเท่าเทียมทางการคลังระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลท้องถิ่น มักเป็นบริการสาธารณะที่มีต้นทุนสูงกว่าเงินที่ท้องถิ่นมี แต่ถ้าลงลึกทีละด้าน เช่น ค่าตอบแทนอาสาสมัครเดือนละ 500 บาท หรือ ค่าเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ก็ไม่เพียงพอ

นอกจากนี้ยังทำให้ท้องถิ่นไม่ได้รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของเงินจึงใช้แบบไม่ระมัดระวังอีกด้วย”

duangmani-s

ผศ.ดร.ดวงมณี เลาวกุล

คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

“เงินอุดหนุนไม่ได้ถูกคิดเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนตั้งแต่แรก แต่เป็นสิ่งที่รัฐจัดสรรให้เพื่อความเสมอภาค และเป็นสิ่งที่รัฐอยากให้ท้องถิ่นทำ”

weerasak-s

รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“การที่เงินอุดหนุนบางกลุ่มมีสัดส่วนเพียง 1% หรือน้อยกว่านั้น อาจสะท้อนว่า ส่วนกลางให้ความสำคัญกับความเสมอภาคในระดับภาพรวมประเทศจากมุมมองของรัฐ มากกว่าการให้ท้องถิ่นใช้จ่ายเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะพื้นที่”

tansorn-s

แทนศร พรปัญญาภัทร

กรรมการผู้จัดการ

บริษัท Urban Room จำกัด

2.
การจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากส่วนกลางมีโครงสร้างเปลี่ยนแปลงทุกปี

ปี

|

|

problem_2_2563

“ในแต่ละปีงบประมาณ เงินอุดหนุนมีการเปลี่ยนแปลงรายการเข้า ออก หรือเพิ่มชั่วคราว นอกจากนี้งบประมาณที่ได้รับยังขนาดความสม่ำเสมอ ทำให้เกิดโครงการระยะสั้นมากกว่าโครงการระยะยาว และเรื่องที่ยากมากถ้าท้องถิ่นจะทำโครงการให้แตกต่างและยั่งยืน”

weerasak-s

รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ

คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

3.
มีการกำหนดเงื่อนไขที่อาจไม่จำเป็นในการเบิกเงินจ่ายอุดหนุน

เงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินอุดหนุนบางครั้งค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ทำให้ท้องถิ่นขาดอิสระในการจัดการบริหารงานเองเท่าที่ควร และนำมาสู่คำถามว่าเงื่อนไขเหล่านี้สอดคล้องและส่งเสริมความต้องการของท้องถิ่นจริงหรือไม่

ตัวอย่างเช่น การเบิกงบการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย จะต้องระบุ 1.) ประเภทรถขนขยะ และ 2.) ข้อมูลประกอบการพิจารณาตามที่กำหนด

4.
การจัดสรรเงินอุดหนุนไม่เพียงพอ

การจัดสรรเงินอุดหนุนจากรัฐไปยังท้องถิ่นในบางกรณีมีความล่าช้า และประเมินได้ไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ท้องถิ่นต้องหางบประมาณมาจ่ายแทนไปก่อน เพื่อให้บริการสาธารณะได้ตรงเวลาตามข้อกำหนด

เช่น ในปีงบประมาณ 2564 การจ่ายเงินอุดหนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและผู้พิการไม่เพียงพอกับกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจากมีการปรับวงเงินเและมีผู้ลงทะเบียนเพิ่มมากขึ้น

ท้องถิ่นต้องจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุถึง 7 งวด กว่าจะครอบคุลม

ท้องถิ่นต้องจ่ายเบี้ยยังชีพคนพิการถึง 15 งวด กว่าจะครอบคลุม

นอกจากนี้ยังมีการเบิกจ่ายเบี้ยยังชีพคนพิการเกินงบประมาณที่ตั้งไว้ถึง 107% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า

นอกจากนี้ แม้แต่รายได้ที่มีอิสระในการใช้จ่ายมากกว่าอย่าง งบที่ท้องถิ่นเก็บเอง รายได้ที่รัฐบาลแบ่งให้และเก็บให้ และ เงินอุดหนุนทั่วไปบางส่วน ท้องถิ่นก็ไม่สามารถใช้จ่ายได้อิสระเต็มที่ เพราะการเบิกจ่าย ต้องผ่านการอนุมัติจากสำนักบริหารการคลังท้องถิ่นก่อน ซึ่งมีเงื่อนไขที่ท้องถิ่นมองว่าเป็นอุปสรรค

ความพยายามของท้องถิ่นในการจัดการบริการสาธารณะ

ชวนดูกรณีศึกษา Khon Kean Smart City ความพยายาม 7 ปี เพื่อให้มีบริการสาธารณะจากท้องถิ่น

โครงการ Khon Kean Smart City เกิดจากความร่วมมือของ 5 เทศบาลในจังหวัดขอนแก่น ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น เทศบาลเมืองศิลา เทศบาลตำบลเมืองเก่า เทศบาลตำบลสำราญและเทศบาลตำบลท่าพระ เพื่อสร้าง รถไฟรางเบาในของแก่น ขึ้น

อุปสรรคที่พบ 1 :

หากใช้แนวทางเข้าเสนอโครงการตามรูปปกติ อาจต้องใช้เวลาในการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการพัฒนา ถึง 7 ปี

อุปสรรคที่พบ 2 :

ความไม่ชัดเจนว่าเทศบาลจะมีอำนาจหน้าที่จัดทำโครงการนี้ได้หรือไม่ เพราะ ตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 ไม่ได้ระบุว่าเทศบาลสามารถพัฒนาโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งมวลชนได้

อุปสรรคที่พบ 3 :

งบประมาณในการสร้างรถไฟรางเบามีมูลค่าถึง 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่มากกว่าทาง เทศบาลจะออกค่าใช้จ่ายเองได้ทั้งหมด

อุปสรรคที่พบ 4 :

ในกรณีที่สามารถสร้างรถไฟรางเบาออกมาได้จริง ก็ยังติดปัญหาข้อกฏหมายที่ระบุว่าทางเทศบาลสามารถเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บริการสาธารณะอะไรได้บ้าง (ซึ่งการเก็บค่าบริการรถไฟรางเบาไม่ได้ถูกกำหนดในข้อกฏหมาย ตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 ในส่วนการคลังและทรัพย์สินของเทศบาล) ซึ่งส่งผลต่อความยั่งยืนของการให้บริการ

กลุ่ม 5 เทศบาล จึงเลือกใช้วิธีที่แตกต่างออกไป ด้วยการรวมตัวกันตั้ง บริษัทเทศบาล ในชื่อ บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด (เคเคทีเอส) ซึ่งทำได้ตาม พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 ในรูปแบบของวิสาหกิจเทศบาลที่มีเอกชนร่วมทุนด้วย

บริษัทเทศบาลนี้ได้ก่อตั้ง บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (เคเคทีที) ขึ้นและร่วมทุนกับภาคเอกชน พร้อมกับการระดมทุนจากภาคประชาชนเพื่อให้ได้เงินทุนสำหรับดำเนินงานพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของเมืองได้ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 เป็นต้นมา

ปัจจุบันการพัฒนารถไฟรางเบาต้นแบบ กำลังอยู่ในขั้นตอนทดสอบสุดท้าย

transport train
transport s_0 transport s_1 transport s_2 transport s_3 transport s_4 transport s_1

แล้วต้องทำอย่างไร
ท้องถิ่นไทยจะไปถึงฝั่งฝัน ?

ลองคลิกดูตัวอย่างข้อเสนอเชิงนโยบายบางส่วนที่อาจช่วยให้ท้องถิ่นสามารถจัดบริการสาธารณะได้ด้วยตัวเอง

รัฐส่วนกลาง

ปลดล็อกมาตรการให้ท้องถิ่นหารายได้ใหม่

  1. รัฐส่วนกลางควรเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นสามารถเก็บภาษีท้องถิ่น จากการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้มากขึ้น เช่น ภาษีอสังหาริมทรัพย์ ภาษีอยู่อาศัย และ ภาษีกิจกรรมที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  2. เปิดโอกาสให้อปท. หารายได้จากการลงทุนเชิงพาณิชย์หรือกิจการเพื่อสังคม
  3. อนุญาตให้อปท. เลือกวิธีการลงทุนที่เหมาะสม เช่น การลงทุนดำเนินการเองโดยตรง การร่วมทุนกับภาคเอกชน (PPP) หรือการให้สัมปทานการลงทุนแก่เอกชนหรือภาคประชาสังคม และใช้เครื่องมือภาษีท้องถิ่นเพื่อจูงใจให้ลงทุนในพื้นที่เพิ่มขึ้น
  4. เพิ่มอำนาจการเก็บภาษีประเภทใหม่ที่ท้องถิ่นไม่ต้องรอส่วนแบ่งรายได้จากฐานภาษีเดิมของรัฐและไม่เบียดบังรายได้สำคัญของรัฐเช่น ภาษีการพักอาศัย ภาษีการท่องเที่ยว หรือภาษีเพื่อการพัฒนาพื้นที่เฉพาะ

ที่มา : ข้อ 1 จากงานวิจัยวิถีใหม่การพัฒนารายรับท้องถิ่นไทย สถาบันพระปกเกล้า โดย รศ.ดร. สกนธ์ วรัญญวัฒนา, ข้อ 2-4 จากจากหนังสือข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนารายได้ท้องถิ่น โดย รศ.ดร. วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ

รัฐส่วนกลาง

สร้างช่องทางให้ท้องถิ่นเข้าถึงตลาดทุนอย่างเพียงพอ

  • สนับสนุนการออกพันธบัตร ในกรณีที่ระบบการคลังท้องถิ่นมีความน่าเชื่อถือและตลาดทุนมีการพัฒนา
  • สนับสนุนการกู้ยืมผ่านธนาคารพาณิชย์
  • สนับสนุนการกู้ยืมผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ

ที่มา : การสัมภาษณ์ ผศ.ดร. ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

เก็บภาษีท้องถิ่นเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  1. ท้องถิ่นสามารถเพิ่มรายได้ของตัวเองได้ผ่านการเก็บภาษีท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วให้ได้มากขึ้น ที่ผ่านมาท้องถิ่นสามารถจัดเก็บรายได้เหล่านี้ได้โดยรวมไม่ถึง 10% ของรายได้ท้องถิ่นทั้งหมด
  2. ควรมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้อปท. สามารถจัดเก็บรายได้ที่มีความยืดหยุ่นและคล่องตัว เช่น
  • หมั่นสำรวจและปรับปรุงฐานข้อมูลภาษีให้เป็นปัจจุบัน เร่งรัดการจัดเก็บรายได้ให้ครบถ้วน
  • ร่วมมือกับกรมขนส่งทางบกเพื่อเร่งรัดติดตามภาษีรถยนต์ค้างชำระ
  • จัดตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อตรวจตราป้ายโฆษณา
  • ใช้มาตรการเชิงสังคมหรือมาตรการอื่น ๆ ในการกระตุ้นการเก็บภาษีท้องถิ่นทุกประเภท
  • ร่วมมือกับส่วนงานต่าง ๆ ระหว่างอปท. ด้วยกันในด้านข้อมูลเพื่อการเก็บภาษีร่วมกันได้ เช่น ภาษีสินค้าที่มี value added มีกระบวนการผลิตแต่ละชิ้นส่วนคนละอปท. กัน
  • ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดเก็บภาษี

ที่มา : ข้อ 1 จากข้อสังเกตของผู้จัดทำ, ข้อ 2 จากหนังสือข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนารายได้ท้องถิ่น โดย รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ

กรมสรรพากรและหน่วยงานจัดเก็บภาษีอื่น

มีนโยบายร่วมมือด้านข้อมูลและบริหารจัดเก็บภาษีร่วมกับท้องถิ่น

ที่มา : หนังสือข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนารายได้ท้องถิ่น โดยรศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

จัดทำการวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจ (economic outlooks) ประเมินทิศทางการจัดเก็บภาษีรายได้ของรัฐและท้องถิ่นในระยะ 1-3 ปีเพื่อให้อปท. จัดทำแผนการคลังระยะปานกลางและรักษาวินัยทางคลังให้ดีขึ้น

ที่มา : หนังสือข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนารายได้ท้องถิ่น โดยรศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล

พัฒนาระบบฐานข้อมูลจัดเก็บภาษีร่วมกันระหว่างหน่วยงานส่วนต่าง ๆ

ที่มา : หนังสือข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนารายได้ท้องถิ่น โดยรศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ

cloud

วันนี้ท้องถิ่นคุณ หยุดอยู่ที่ตรงไหน ?

แม้จะต้องเผชิญปัญหาและอุปสรรคจากข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล แต่โจทย์สำคัญที่จะทำให้ท้องถิ่นไปถึงฝั่งฝันได้นั้น คือ การตอบโจทย์คนในท้องถิ่นให้ได้ดีที่สุด ?

ภาพฝันจะเป็นจริงได้ ท้องถิ่นเองยังต้องจัดการกับความท้าทายในอีกหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น การทำความเข้าใจความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นอย่างถูกต้อง ความสามารถในการจัดการงบประมาณของตนเอง การสร้างนวัตกรรมบริการสาธารณะ

ที่สำคัญคือการผลักดันให้เกิดการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง ทั้งการจัดสรรงบประมาณและการให้อำนาจหน้าที่ในการจัดการ โดยให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางและสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อให้ภาพฝันเป็นฝันของเราทุกคนได้จริงๆ

แชร์ไปสร้างความเข้าใจ ท้องถิ่นเราจะได้ไปไกลกว่านี้


แหล่งอ้างอิง

ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ

  • ท้องถิ่นกับหน้าที่การจัดทำบริการสาธารณะ (-)/สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
  • ข้อเสนอเชิงนโยบายนวัตกรรมการพัฒนารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2558)/รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย และคณะ สถาบันพระปกเกล้า
  • รูปแบบและประเภท การจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2559)/รองศาสตราจารย์วุฒิสาร ตันไชย และคณะ สถาบันพระปกเกล้า

ข้อมูลรายได้ของท้องถิ่นในต่างประเทศ

  • ข้อมูลรายได้ของท้องถิ่นในประเทศ สหรัฐอเมริกา (2563)/United States Census Bureau
  • State and Local Revenues of US (-)/Urban Institute
  • ข้อมูลรายได้ของท้องถิ่นในประเทศ ญี่ปุ่น (2563)/Ministry of Internal Affairs and Communications, Japan
  • ระบบการคลังท้องถิ่นญี่ปุ่น: บทเรียนจากประเทศพัฒนาแล้ว (2561)/ยศธร ทวีพล และคณะ มหาวิทยาลัยมหิดล

ข้อมูลงบประมาณท้องถิ่นในไทย และต่างประเทศ

  • รายงานวิเคราะห์รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2564)/สำนักงบประมาณของรัฐสภา และสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
  • เกณฑ์การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2563 (2562)/สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
  • เงินอุดหนุนเฉพาะกิจและความเหลื่อมล้ำทางการคลังท้องถิ่นในประเทศไทย (2563)/ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และดารุณี พุ่มแก้ สถาบันพระปกเกล้า
  • รายชื่อหมวดหมู่โครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถขอรับการเสนองบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ปีงบประมาณ 2565 (2565)/กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

กรณีศึกษาความพยายามท้องถิ่น

  • การบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2560 : กรณีศึกษา โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรางเบา (LRT) เทศบาลนครขอนแก่น (2561)/อลงกรณ์ อรรคแสง สถาบันพระปกเกล้า

แนวทางในการแก้ไขปัญหางบประมาณท้องถิ่น

  • ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนารายได้ท้องถิ่น พ.ศ. 2563 - 2565 (2565)/รศ.ดร.วีระศักดิ์ เครือเทพ และคณะ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คู่มือการประเมินผลลัพธ์ทางสังคมของโครงการพัฒนาท้องถิ่น (2564)/ผศ.ดร. ดวงมณี เลาวกุล คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิถีใหม่การพัฒนารายรับท้องถิ่นไทย (2562)/รองศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญวัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

Created by

end/profile_a

อภิรัตน์ อภิรมยนารถ

end/profile_b

วรกาญจน์ อุ่นหัตถประดิษฐ์

Visualized by

Supported by